แผนรองรับภาวะฉุกเฉินและมาตรการการดูแลรักษาความปลอดภัย ในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่

หลักการและเหตุผล

สำนักงานรักษาความปลอดภัย องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นหน่วยงานของรัฐที่รับจ้างให้บริการรักษาความปลอตภัยแก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ทั่วประเทศ โดยสำนักงานฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยจึงได้จัดทำแผนรองรับภาวะฉุกเฉินและมาตรการ การดูแลรักษาความปลอดภัยขึ้น เพื่อเป็นแผนในการเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบดูแลรักษาความปลอดภัยตามสัญญาจ้าง และเพื่อให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อลด หรือป้องกันความเสียหายไต้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเป็นการลดอัตราความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และสามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือภัยต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
2. เพื่อเป็นกรอบแนวทางปฏิบัติในการลดและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพย์สิน อาคารและสถานที่ของผู้ว่าจ้าง
3. เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่รับผิดชอบตามสัญญาจ้างมีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. เพื่อสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ว่าจ้าง

แผนรองรับภาวะฉุกเฉินและมาตรการการดูแลรักษาถวามปลอดภัย ประกอบด้วย
1. แผนป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของทางราชการ หน่วยงานผู้ว่าจ้าง
2. แผนป้องกันและควบคุมอัคคีภัย
3. แผนเผชิญเหตุกรณีกิดเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายภายในโรงพยาบาล


1. แผนป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของทางราชการ หน่วยงานผู้ว่าจ้าง

มาตรการและแนวทางการปฏิบัติ
1.1 กำหนดพื้นที่ทั้งหมดของหน่วยงานผู้ว่าจ้างเป็นพื้นที่ควบคุมและเป็นขอบเขตของการรักษาความปลอดภัย
1.2 ปฏิบัติตามมาตรการการตูแลรักษาความปลอดภัยที่หน่วยงานผู้ว่าจ้างกำหนดให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
1.3 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ประจำกาย เช่น กระบอง กุญแจมือ ไฟฉาย วิทยุสื่อสาร ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
1.4 จัดทำแผนผังหมายเลขโทรศัพท์บุคลากรผู้ว่าจ้าง รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานภายนอก เช่น สถานีตำรวจ หน่วยดับเพลิง หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และสถานพยาบาล เพื่อติตต่อประสานงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
1.5 เปิด-ปิด ประตูตามกำหนดเวลา ให้เข้าออกได้เพียงประตูเดียว นอกเวลาราชการ
1.6 ทำการแลกบัตรผ่านเข้า – ออก รถยนต์ หรือบุคคลภายนอกที่มาติตต่อหน่วยงานผู้ว่าจ้าง พร้อมสอบถามหน่วยงานหรือบุคคลที่ประสงค์จะมาติดต่อ และบันทึกรายละเอียดข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน
1.7 ทำการตรวจตราดูแลอาคาร สถานที่ และพื้นที่โดยรอบอย่างสม่ำเสมอ พร้อมเพิ่มวงรอบการตรวจในผลัดกลางคืนให้มากขึ้น
1.8 ตรวจสอบการปิดล็อคประตู หน้าต่าง ให้เรียบร้อย รวมถึงเฝ้าระวังสังเกตบุคคลที่เข้ามาในพื้นที่และมีพฤติกรรมส่อไปในทางพิรุธ เพื่อป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินภายในหน่วยงานผู้ว่าจ้าง
1.9 กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอตภัย เข้าทำการระงับเหตุที่เกิดขึ้นในทันทีพร้อมรายงาน โดยวาจาหรือเครื่องมือสื่อสารให้ผู้ว่าจ้างและสำนักงานฯ (เจ้าหน้าที่สายตรวจประจำสาย หรือศูนย์วิทยุผ่านศึก โทร 0-2644-5833) รับทราบทันทีที่สามารถกระทำได้ กรณีหากเกินขีดความสามารถที่จะทำการระงับเหตุได้ให้ประสานแจ้งเจ้าหน้ที่ตำiวจท้องที่เกิดเหตุ หรือหน่วยงานภายนอกเข้าดำเนินการโดยเร็ว ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้จัดทำไว้
1.10 ภายหลังเหตุการณ์สิ้นสุด ให้ตรวจสอบความเสียหายเบื้องตันและรายงานผลให้ผู้ว่าจ้าง และสำนักงานฯ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเร็ว


2. แผนป้องกันและควบคุมอัคคีภัย

มาตรการและแนวทางการปฏิบัติ
2.1 กำหนดพื้นที่ทั้งหมดของหน่วยงานผู้ว่าจ้างเป็นพื้นที่ควบคุมและเป็นขอบเขตของการป้องกันอัคคีภัย
2.2 ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันอัคคีภัยที่หน่วยงานผู้ว่าจ้างกำหนดให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอตภัยปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
2.3 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ประจำกายให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
2.4 จัดทำแผนผังหมายเลขโทรศัพท์บุคลากรผู้ว่าจ้าง รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานภายนอก เช่น สถานีตำรวจ หน่วยตับเพลิง หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และสถานพยาบาล เพื่อติตต่อประสานงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
2.5 ทำการสำรวจตรวจสอบบริเวณจุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง พร้อมตรวจสอบความพร้อมในการใช้งานของอุปกรณ์ดับเพลิงต่างๆ ร่วมกับผู้ว่าจ้าง เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ
2.6 ทำการสำรวจตรวจสอบเส้นทางหนีไฟร่วมกับผู้ว่าจ้าง โดยห้ามวางสิ่งของกีดขวางเส้นทางอพยพ บันไดหนีไฟ และทางออกฉุกเฉินโดยเด็ดขาด
2.7 ในพื้นที่รับผิดชอบที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสามารถเข้าถึงได้ ให้ตรวจสอบการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น กาต้มน้ำไฟฟ้า ปลักไฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปิตสวิตซ์และถอดปล็กไฟทุกครั้ง หลังใช้งานและก่อนกลับบ้าน ให้ประสานการปฏิบัติร่วมกับผู้ว่าจ้างในการดำเนินการ
2.8 ทำการตรวจตราดูแลอาคาร สถานที่ และพื้นที่โดยรอบอย่างสม่ำเสมอ พร้อมเพิ่มวงรอบการตรวจในผลัดกลางคืนให้มากขึ้น
2.9 กรณีเกิดเหตุอัคคีภัยให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เข้าทำการระงับเหตุที่เกิดขึ้นในทันที ตามขั้นตอนการปฏิบัติ ด้วยเครื่องดับเพลิงหรืออุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสม พร้อมรายงานโดยวาจา หรือเครื่องมือสื่อสารให้ผู้ว่าจ้างและสำนักงานฯ (เจ้าหน้าที่สายตวจประจำสาย หรือศูนย์วิทยุผ่านศึก
โทร 0-2644-5833 ) รับทราบทันทีที่สามารถกระทำได้ กรณีหากเกินขีดความสามารถที่จะทำการระงับเหตุไต้ ให้ประสานแจ้งหน่วยดับเพลิงเข้าดำเนินการตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้จัดทำไว้
2.10 ช่วยเหลือในการอพยพหนีไฟ หรือเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปยังจุดรวมพลหรือจุดปฐมพยาบาลเบื้องตันตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด (ถ้ามี)
2.11 ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกด้านการจราจรในพื้นที่ และห้ามไม่ให้มีรถหรือสิ่งกีดขวางใดบริเวณประตูทางเข้า – ออก เพื่อให้รถดับเพลิงและรถพยาบาลสามารถเข้าปฏิบัติงานได้อย่งรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
2.12 ภายหลังเหตุการณ์สิ้นสุด ให้ตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้นและรายงานผลให้ผู้ว่าจ้างและสำนักงานฯ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเร็ว


๓. แผนเผชิญเหตุกรณีเกิดเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายภายในโรงพยาบาล

มาตรการและแนวทางการปฏิบัติ
3.1 กำหนดพื้นที่ทั้งหมดของหน่วยงานผู้ว่าจ้างเป็นพื้นที่ควบคุมและเป็นขอบเขตของการรักษาความปลอดภัย
3.2 ปฏิบัติตามมาตรการการดูแลรักษาความปลอดภัยที่หน่วยงานผู้ว่าจ้างกำหนดให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
3.3 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ประจำกาย เช่น กระบอง กุญแจมือ ไฟฉาย วิทยุสื่อสาร ให้พร้อมใช้งาน
3.4 อบรมการต่อสู้ป้องกันตัวเพื่อให้เกิดทักษะและพร้อมที่จะปฏิบัติได้จริงอย่างสม่ำเสมอ
3.5 จัดทำแผนผังหมายเลขโทรศัพท์บุคลากรผู้ว่าจ้าง รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์สถานีตำรวจท้องที่เพื่อใช้แจ้งเหตุ
3.6 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องสังเกตบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เข้ามาในพื้นที่ ในลักษณะที่ผิดปกติอันอาจนำมาสู่เหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกาย
3.7 แจ้งเจ้าหน้าที่ รปภ. ที่ปฏิบัติงานทุกจุดในพื้นที่ทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการระงับเหตุ
3.8 แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ว่าจัางทราบโดยทันที กรณีเมื่อคาดหมายได้ว่าเหตุทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายจะเกิดขึ้น เพื่อประสานการปฏิบัติร่วมกัน
3.9 เมื่อเกิดเหตุให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้าดำเนินการระงับเหตุโดยทันที พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ว่าจ้างและเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ทราบ โดยประสานการปฏิบัติและสนับสนุนการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้การระงับเหตุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที และให้แจ้งเหตุให้สำนักงานรักษาความปลอดภัย (สปภ.) ทราบโดยทันทีที่สามารถกระทำได้ (เจ้าหน้าที่สายตรวจประจำสาย หรือศูนย์วิทยุผ่านศึก โทร 0-2644-5833 )
3.10 ปิดกั้นพื้นที่และควบคุมตัวผู้ก่อเหตุไว้ในเบื้องตัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมารับตัวไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
3.11 ตรวจสอบความเสียหาย การบาดเจ็บ สรุปสถานการณ์และรายงานผลให้ผู้ว่าจ้างและสำนักงานรักษาความปลอดภัย (สปภ.) ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเร็ว

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ LINE @securitywvo ที่นี่


เพิ่มเพื่อน
ติดต่อเรา