Wi-Fi 6 คืออะไร

การเชื่อมต่อไร้สายผ่านคลื่นสัญญาณ Wi-Fi ได้รับความนิยมเป็นวงกว้างในปัจจุบัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Free Wi-Fi ตามร้านอาหารต่างๆ หรือสำหรับคนที่จะใช้งานในบ้านก็ง่ายมาก เพียงแค่ติดตั้ง Fiber Internet จ่ายรายเดือนหลักร้อย ก็ได้ Wi-Fi Router มาใช้งานฟรีๆ กันแล้ว ไม่ใช่แค่โน้ตบุ๊ก หรือสมาร์ทโฟนที่ใช้งานได้ แต่ยังสะดวกกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย เช่น Smart TV, Wi-Fi Camera, Android Box ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของบ้าน ขอเพียงแค่มีสัญญาณ Wi-Fi ก็ใช้งานได้ทันที




ปัจจุบัน Wi-Fi ที่ใช้งานเป็นอย่างไร ความเร็วพอใช้งานมั๊ย จำเป็นต้องอัพเกรดเป็น Wi-Fi 6 มั้ยนะ?

ปัจจุบันมาตรฐานการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่เรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานเชื่อมต่อได้แทบทุกอุปกรณ์บนโลกนี้คือ

IEEE 802.11n

เป็นการเชื่อมต่อไร้สายบนคลื่นความถี่ 2.4GHz เราเตอร์ที่รองรับมีวางขายทั่วไปหาซื้อได้ตามห้างไอที หรือผู้ให้บริการแถมมาเวลาขอติดตั้งอินเทอร์เน็ต ส่วนมากจะมีความเร็ว 300Mbps ส่วนบางรุ่นราคาแพงหลายพันบาทอาจได้ความเร็ว 400-600Mbps ก็มี แน่นอนว่าคลื่น 2.4GHz ถูกนำมาใช้งานตั้งแต่แรกเริ่มตั้งแต่ปี 1999 เรียกได้ว่าเกือบๆ 20 ปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อของอุปรณ์ในปัจจุบัน

  • ข้อดี คลื่นความถี่มีประสิทธิภาพการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางได้ดี คลื่นสัญญาณไปได้ไกล
  • ข้อเสีย คลื่นสัญญาณรบกวนกันเองได้ง่าย เมื่อคลื่นถูกรบกวนมากๆ ความเร็วอินเทอร์เน็ตก็ลดลง จะเห็นผลมากๆ กับการเล่นเกมออนไลน์ หรือการสตรีมมิ่งดูหนัง 4K




IEEE 802.11ac

เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายบนคลื่นความถี่ 2.4GHz เหมือนเดิม แต่เพิ่มสัญญาณ 5GHz เข้ามาอีกคลื่น ทำให้รองรับการใช้งานอุปกรณ์ได้มากขึ้น เพราะเชื่อมต่อได้ทั้งสองคลื่นพร้อมกัน และที่คลื่น 5GHz มีช่องสัญญาณให้ใช้งานมากกว่าเดิม มีโอกาสที่สัญญาณจะรบกวนก็น้อยลง ทำให้ความเร็วในการเชื่อมต่อไร้สายสูงสุด 1.3Gbps เรียกได้ว่าความเร็วในการโอนไฟล์ข้อมูลแบบไร้สายได้ความเร็วที่ใกล้เคียงกับการเชื่อมต่อสายแลนเลยทีเดียว สตรีมดูหนังออนไลน์ความละเอียด Full HD หรือ ระดับ 4K ได้ดีเยี่ยม

  • ข้อดี เร็วในการเชื่อมต่อมากกว่าเดิม มีช่องสัญญาณให้ใช้งานมากขึ้น คลื่นสัญญาณถูกรบกวนน้อย
  • ข้อเสีย มีราคาแพง และอุปกรณ์บางรุ่นไม่รองรับ

IEEE 802.11ax

มาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายความเร็วสูงในอนาคต ทำงานบนพื้นฐานคลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz เหมือน IEEE 802.11ac แต่ได้รับการออกแบบช่องสัญญาณใหม่ ให้ส่งข้อมูลได้พร้อมกันในช่วงเวลาเดียวกัน โดยจะเรียกว่า OFDA (Orthogonal Frequency Division Access) ดูจากภาพข้างล่าง จะเข้าใจมากขึ้น

ในช่วงเวลาเดียวกัน IEEE 802.11ax สามารถส่งข้อมูลออกไปพร้อมๆ กันได้หลายอุปกรณ์

ต้องบอกว่ามาตรฐานใหม่นี้เข้ามาเติมเต็มการเชื่อมต่อไร้สบายในยุคอนาคตได้เป็นอย่างดี ตามทฤษฎีมีความเร็วเพิ่มมากกว่าเดิม 4 เท่า ว่ากันว่าทำความเร็วได้มากถึง 3.5Gbps เลยทีเดียว (ถ้าทำได้จริงเร็วกว่าสายแลน 1Gbps เสียอีก) ในปัจจุบันเริ่มมีเราเตอร์มาตรฐาน IEEE 802.11ax วางจำหน่ายกันบ้างแล้ว แน่นอนว่าปี 2019 จะมีการพูดถึงการเชื่อมต่อไร้สายความเร็วสูงบน IEEE 802.11ax มากขึ้นอย่างแน่นอน

มาถึงตรงนี้แล้ว Wi-Fi 6 หละอยู่ไหน ?

ไม่นานมานี้ทาง Wi-Fi Alliance (องค์กรกลางที่ทำหน้าที่รับรองอุปกรณ์ Wi-Fi) ได้ออกมาประมาณมาตรฐานการเรียกชื่อ Wi-Fi ที่ยุ่งยากให้เป็นตัวเลขที่เข้าใจแบบสากล ที่ผู้ใช้งานทั่วไปก็เข้าใจได้ง่ายๆ ดูจากตารางนี้ได้เลย

Wi-Fi 6 มีความเร็วสูงสุด 10Gbps เร็วกว่า Wi-Fi 5 (802.11ac) ประมาณ 30-40%และ Wi-Fi 6 รองรับ MU-MIMO สามารถตอบสนองได้รวดเร็วและลดสัญญาณรบกวนในพื้นที่ Wi-Fi ที่หนาแน่น อย่างไรก็ตาม การที่จะใช้ Wi-Fi 6 นั้น อุปกรณ์ มือถือ Notebook ทีวี และ Router จะต้องรองรับ Wi-Fi 6 ด้วย

เดิม Wi-Fi 6 ที่เคยมีชื่อเรียกตามรูปแบบเดิม ๆ ว่า “802.11ax” เป็นเทคโนโลยี Wi-Fi ที่ใช้เวลาในการพัฒนามานานกว่า 2 ทศวรรษ มีการขยายช่วงความถี่ในการใช้งานเพิ่มขึ้น จากเดิมใน Wi-Fi 5 หรือ 802.11ac ที่ต้องเลือกว่าจะใช้ความถี่ 2.4GHz หรือ 5GHz



มาใน Wi-Fi 6 เราจะมีช่วงความถี่ให้ใช้งานได้ตลอดย่านตั้งแต่ 2.4GHz ไปจนถึง 5GHz มีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ iOT ต่าง ๆ ภายในบ้านได้เป็นจำนวนมากโดยที่ไม่เกิดความสับสน

นอกจากนั้นยังแก้ไขปัญหาสัญญาณหาย ความเร็วตกเวลาอยู่ในสถานที่ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เช่น ในห้างสรรพสินค้า สนามกีฬา หรือคอนเสิร์ตฮอลล์

ถึงเวลาที่จะไปซื้อเราเตอร์ใหม่มาอัพเกรดให้ดูหนัง 4K ได้ลื่นๆ หรือโหลดไฟล์ขนาดใหญ่แบบไร้สายได้สะดวกไม่ต้องต่อสายแลน ลองเดินเข้าไปคุยกับคนขายได้ว่ามีเราเตอร์ที่รองรับ Wi-Fi 6 มั๊ย? ถ้ามี..ก็จัดซื้อมาใช้งานได้

จริงๆ ก็ไม่ต้องใส่ใจกับตัวเลขข้อมูลเหล่านี้แล้ว เพราะเป็นเทคโนโลยีเก่าตกรุ่นไม่น่าจะหลงเหลืออยู่แล้ว แต่เมื่อดูจากจุดเริ่มต้นการเชื่อมต่อไรสายในปี 1999 จนมาถึงปัจจุบัน ต้องบอกว่ามาตรฐานการเชื่อมต่อ Wi-Fi เดินทางมาไกลมาก ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีเท่านั้น ทำให้เราใช้งานในชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้นแบบชัดเจน ว่าแล้วก็อยากจะลองสัมผัสการใช้งาน Wi-Fi 6 เร็วๆ เสียจริง ว่าจะเร็วแรงถึงใจขนาดไหนกันนะ?

ขอขอบคุณ addin.co.th

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ LINE @securitywvo ที่นี่


เพิ่มเพื่อน
ติดต่อเรา