การลาป่วยกรณีอุบัติเหตุเดินทาง ไป – กลับ

การลาป่วยเกิน 30 วันขึ้นไป อำนาจในการอนุมัติอยู่ที่ ผอ.สปภ. และจะต้องผ่านคณะกรรมการตรวจสอบและพิจารณา จะได้รับค่าจ้าง 60% ของอัตราค่าจ้างที่ได้รับ และหากจะลาป่วยเพื่อรักษาตัวต่อ ลาป่วยได้อีกไม่เกิน 60 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง หากมีความจำเป็นต้องลาเกินกำหนดให้ถือว่าพ้นสภาพจากการเป็นเจ้าหน้าที่ รปภ.

1.เตรียมเอกสารตามรายละเอียดข้างล่างนี้
เอกสารประกอบการลา ( ต้องครบ )
– ใบลา

ดาวน์โหลด แบบใบลาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

– จะต้องใช้ ใบรับรองแพทย์ตัวจริง เท่านั้น มีการ ประทับตราของทางโรงพยาบาลรัฐบาล
(กรณี โรงพยาบาลเอกชน จะต้องมีปั๊มคำว่า ฉุกเฉิน หรือ ประสบอุบัติเหตุ เท่านั้น )
– สำเนาบัตร รปภ.
– สำเนาบัตร ประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– รายงานเหตุการณ์จาก หน.ชุด
– รายงานเหตุการณ์จาก สายตรวจ
– ใบแจ้งความจาก ตำรวจ
– แผนที่ที่เกิดเหตุ ฯ



การลาป่วยไม่เกิน ๓๐ วัน อำนาจในการอนุมัติอยู่ที่ หน.แผนกควบคุมพื้นที่ ๒
กรณี ขอรับค่าจ้าง ๗ วัน คือ ค่าจ้าง x ๗ วัน = จำนวนค่าจ้างที่จะได้รับ
เอกสารประกอบการลา
– ใบลา
– สำเนาบัตร รปภ.
– สำเนาบัตร ประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– จะต้องใช้ ใบรับรองแพทย์ตัวจริง เท่านั้น มีการ ประทับตราของทางโรงพยาบาลรัฐบาล
( กรณี โรงพยาบาลเอกชน จะต้องมีปั๊มคำว่า ฉุกเฉิน หรือ ประสบอุบัติเหตุ เท่านั้น )

2.ให้ดำเนินการจัดส่งเอกสารดังกล่าว
ถึง ส้ม ปฏิบัติการ สปภ.อผศ.
131 ถนนวิภาวดีรังสิต สามเสนใน พญาไท กทม. 10400



ขั้นตอนการติดต่อสอบถาม

๑. งานใบลาฯ ส่วนปฏิบัติการ เบอร์ FAX 02 – 2453057
– เบอร์โทรศัพท์ 02 – 2454618 ต่อ 2008 ติดต่อ คุณแดง (กทม.และปริมณฑล)
– เบอร์โทรศัพท์ 02 – 2454618 ต่อ 2016 ติดต่อ คุณส้ม ปฏิบัติการ (ต่างจังหวัด)

๒. แผนกฎีฏาฯ
– เบอร์โทรศัพท์ 02 – 2481355 ติดต่อ คุณหนิง
– เบอร์โทรศัพท์ 02 – 2454618 ต่อ 1639
ติดต่อ คุณหนิง (สอบถามเรื่องเงินค่าจ้างเกี่ยวกับลาป่วย)

๓. แผนกงานสวัสดิการฯ เบอร์ FAX 02 – 2481356
– เบอร์โทรศัพท์ 02 – 2481350 (คุณตรง)
– เบอร์โทรศัพท์ 02 – 2454618 (คุณต่อ)
– ต่อ 1618 คุณเอ ( ผช.หน.สวัสดิการ )

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ LINE @securitywvo ที่นี่


เพิ่มเพื่อน
ติดต่อเรา